วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552


ประวัติรัชกาลที่8

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 2 ค่ำเดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมือง ไฮเดเบอร์ก ประเทศเยอรมัน ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก (ขณะนั่นดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมขุนสงขลานครินทร์) และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (ขณะนั่นทรงเป็น หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เมื่อพระชนมายุ 3 พรรษา ได้เสด็จกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี โดยเสด็จประทับ ณ วังสระปทุม ในปีต่อมาได้ทรงศึกษาชั้นอนุบาล ณ โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย 2 ปี แล้ว จึงเสด็จไปประทับต่อ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 ต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2477 สภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลในขณะนั้นมีมติเห็นชอบให้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล (พระยศขณะนั้น) ขึ้นครองราชย์สืบราชสันติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล" เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 แต่ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา จึงต้องทรงมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้แก่พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา และเจ้าพระยายมราช ทำการบริหารแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลักจากขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 13 พรรษา การเสด็จนิวัตรครั้งนี้โดยทางเรือชื่อ มีโอเนีย พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอและสมเด็จพระอนุชา ซึ่งเมื่อเสด็จถึงปีนัง ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์สเตรทเอคโค ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า
"ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่จะได้เดินทางกลับสู่ประเทศอันเป็นที่รักของข้าพเจ้า และในอันที่จะได้เห็นประชาราษฎร์ของข้าพเจ้าเอง"


ตลอดระยะเวลา 2 เดือน ที่ทรงเสด็จประทับอยู่ในเมืองไทย ได้ทรงออกเยี่ยมราษฎรในที่ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้าชมพระบารมีอย่างใกล้ชิด จากนั้นได้ทรงเสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 การคมนาคมติดต่อเป็นไปโดยลำบากพระองค์ท่านจึงไม่ทรงมีโอกาสติดต่อกับประเทศไทย เมื่อสงครามสงบ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์และเหลือเวลาอีกประมาณ 3 ปี จะทรงได้รับปริญญาเอกจึงเสด็จ นิวัติกลับประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2488 ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุได้ 21 พรรษา ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว
ในการเสด็จนิวัตเมืองไทยครั้งนี้ เดิมทรงตั้งพระราชหฤทัยจะประทับอยู่ในเมืองไทยเพียง 1 เดือนจากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อให้ทันการเปิดภาคเรียนใหม่ในกลางเดือนมกราคมแต่เนื่องจากทรงมีพระราชกรณียกิจในฐานะประมุขของประเทศ มากมาย ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของชาติและพสกนิกร ทำให้ทรงเลื่อนเวลาที่จะเสด็จพระราชดำเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์ออกไปเป็นวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2489

ชาวประมง

ชาวประมงพื้นบ้านในภาคใต้ สภาพปัญหากับข้อเสนอเชิงนโยบายโดย : สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ เมื่อ : 6/12/2007 10:09 AM
ขณะที่อาหารทะเลขึ้นโต๊ะเหลาราคาแพงลิ่ว ประเทศไทยมีผลผลิตการประมงส่งออกมากติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ทำไมชาวประมงผู้หาปลายังยากจน เป็นคำถามที่ชวนคิดหาคำตอบสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้คลุกคลีกับชาวประมงมากนัก แต่สำหรับชาวประมงพื้นบ้านแล้ว มันกลับเป็นความจริงอันขมขื่น เพราะว่าสัตว์น้ำสดๆที่ขึ้นโต๊ะอาหารและส่งออกนั้น เข้ากระเป๋าคนหาปลาเพียงน้อยนิด และต้องเผชิญกับปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำที่ร่อยหรอลง โดยที่เขาเหล่านั้นแทบไม่ได้ก่อขึ้น ข้อเขียนนี้จะพยายามชี้ให้เห็นข้อเท็จจริง พร้อมทั้งเสนอแนวทางออกจากปัญหาข้อเท็จจริงนั้น (๑) ทะเลไทย เราควรรู้ว่า ประเทศไทยนั้นมีพื้นที่ชายฝั่งติดทะเล ๒๓ จังหวัด ชายฝั่งทะเลมีความยาวรวมทั้งสิ้นประมาณ ๒,๘๑๕ กิโลเมตร แบ่งเป็นชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยมีความยาวประมาณ ๑,๘๖๑ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ๑๗ จังหวัด และทะเลชายฝั่งพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน มีความยาวทั้งสิ้น ๙๕๔ กิโลเมตร สำหรับในภาคใต้นั้นจัดเป็นสามทะเล คือ ทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ทะเลฝั่งอันดามัน รวมความยาวทั้งสองฝั่ง ๑,๖๗๒ กิโลเมตร และทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่มีพื้นที่ผิวน้ำ ๙๘๘.๓๑ ตารางกิโลเมตร หรือ ๖๑๘,๓๑๙ ไร่ และยิ่งควรรู้ว่า ในท้องทะเลไทยนั้น มีปลากว่า ๒,๐๐๐ ชนิด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๑๐ ของทั่วโลก หอยประมาณ ๒,๐๐๐ ชนิด สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ รวมกันอีก ๑๑,๙๐๐ ชนิด ในทะเลสาบสงขลามีปลามากกว่า ๗๐๐ ชนิด ปูและกุ้ง ๒๐ ชนิด พันธุ์ไม้น้ำสาหร่ายประมาณ ๕๗ ชนิด นอกจากนั้นชายฝั่งทะเลไทยยังอุดมไปด้วยพืชพันธุ์ไม้ชายฝั่งและใต้น้ำ หลากชนิด ในป่าชายหาด ป่าชายเลน และดงหญ้าทะเล เป็นทั้งแหล่งอาหาร สมุนไพรและพันธุกรรมธรรมชาติที่สำคัญของสังคมไทย ทะเลและทรัพยากรชายฝั่งจึงเป็นฐานทรัพยากรที่สำคัญของไทย เป็นที่หาอยู่หากินของชาวประมงพื้นบ้านกว่า ๓, ๗๙๗ หมู่บ้าน ๕๖,๘๕๙ ครัวเรือน ซึ่งร้อยละ ๙๒ เป็นชาวประมงพื้นบ้านอันเป็นส่วนหนึ่งของระบบการผลิตฐานรากค้ำจุนสังคมไทย มานับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (๒) ชาวประมงพื้นบ้าน ที่เราควรรู้มากกว่านั้น คือ ชาวประมงผู้จับปลาในสังคมไทยนั้น มี สองกลุ่มหลักๆ คือกลุ่มชาวประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ลงทุนธุรกิจจับสัตว์น้ำเพื่อสร้างกำไรเป็นหลัก และกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านหรือชาวประมงขนาดเล็กซึ่งใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ บางครอบครัวไม่มีเรือ บางครอบครัวใช้เรือไม่มีเครื่องยนต์ หรือใช้เรือมีเครื่องยนต์นอกเรือ (เรือหางยาว) หรือใช้เรือมีเครื่องยนต์ในเรือขนาดระวางบรรทุกต่ำกว่า 5 ตันกรอสเรือที่ใช้จะเป็น เรือหางยาว หัวโทง กอและ หรือท้ายตัดเป็นส่วนใหญ่ ชาวประมงพื้นบ้านจะใช้เครื่องมือประมงแบบพื้นบ้าน ที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเองใช้วัสดุในท้องถิ่น ที่มีลักษณะเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ที่สำคัญ คือ เลือกจับสัตว์น้ำได้เฉพาะชนิด เฉพาะอย่าง เช่น อวนลอยปลา อวนลอยกุ้ง อวนจมปู แห เบ็ด ลอบ ไซ ลอบปลาหมึก หยองดักปู ใช้เครื่องมืออื่นๆผลัดเปลี่ยนไปตามความชุกชุมของสัตว์น้ำที่เข้ามาชายฝั่ง เช่น ระวะรุนเคย สวิงช้อนแมงกะพรุน ลอบปลา เป็นต้น เครื่องมือที่เพิ่มขึ้นมาในระยะหลัง ได้แก่ ลอบและจั่นหอยหวาน ลอบลูกปลากะรัง เป็นต้น ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ การสำรวจสำมะโนประมงทะเลของสำนักงานสถิติแห่งชาติและกรมประมง พบว่าประเทศไทยมีหมู่บ้านชาวประมง ๓,๗๙๗ หมู่บ้าน มีครัวเรือนชาวประมงทั้งสิ้น ๕๖,๘๕๙ ครัวเรือน ในจำนวนทั้งหมดนั้นเป็นครัวเรือนประมงขนาดเล็ก ร้อยละ ๙๒ สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมได้รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมไทยปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ไว้ว่า ในปี ๒๕๔๔ มีเรือประมงทั้งหมดที่จดทะเบียนการมีไว้ในครอบครองซึ่งเครื่องมือทำการประมงกับกรมประมง จำนวน ๑๕,๙๔๕ ลำ (กรมประมง ๒๕๔๖) เป็นเรือขนาดใหญ่ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น ๒๓๒ ลำ ที่เหลือเป็นเรือขนาดเล็ก (ขนาดต่ำกว่า ๒๕ เมตร) ซึ่งมีจำนวนลดลง ผลผลิตจากการจับด้วยเทคโนโลยีแบบชาวประมงพื้นบ้านนี่เอง ที่ทำให้ผู้บริโภคได้อาหารทะเลที่สด สะอาด ไม่มีสารพิษ สัตว์น้ำได้ขนาดสมวัย ผิดกับการจับเอาปริมาณมากๆ ออกทะเลหลายวัน หรือใช้เวลาเป็นครึ่งเดือนกว่าจะนำปลาเข้าฝั่ง ที่ต้องผ่านกรรมวิธีแช่ดองไว้ กว่าจะถึงผู้บริโภคต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ และแน่นอนว่าในปัจจุบันนั้นปริมาณการผลิตของชาวประมงพื้นบ้านรวมกันทั้งหมด น้อยกว่าผลผลิตของชาวประมงแบบพาณิชย์รวมกัน จากข้อมูลดังกล่าวเราจะเห็นว่าชาวประมงขนาดเล็ก หรือชาวประมงพื้นบ้านยังเป็นคนส่วนใหญ่ของชาวประมงทั้งหมด และมีนัยยะสำคัญยิ่งในแง่ของความมั่นคงทางอาหารต่อสังคมไทย (๓) สภาพปัญหาชาวประมงพื้นบ้าน
๓.๑ ทรัพยากรเสื่อมโทรม ปัญหาความยากจนของชาวประมงพื้นบ้านขนาดเล็กนั้น จึงเกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งซึ่งเป็นต้นทุนชีวิต ต้นทุนอาชีพ ที่ได้ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็วจากการทำประมงด้วยเครื่องมือทำลายประเภทต่างๆ การจับสัตว์น้ำอย่างไม่ยั้งมือ โดยใช้วิธีการประมงที่ทำลายล้าง ได้แก่ การใช้ระเบิด ยาเบื่อ โพงพาง อวนรุน อวนลาก เรือปั่นไฟจับปลากะตัก ฯลฯ และยังมีพัฒนาการของเครื่องมือประมงใหม่ๆออกมาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งหลายชนิดมีสภาพทำลายทรัพยากร เช่นกัน นโยบายการผลิตสัตว์น้ำจำนวนมากเพื่อขายส่งออก นำรายได้เข้าประเทศ เป็นฐานคิดสำคัญที่ส่งผลให้มีการจับสัตว์น้ำจำนวนมหาศาลเพื่อขาย สร้างความร่ำรวย แต่ข้อเท็จจริงคือ มีคนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ ในขณะที่ได้ทำลายความมั่นคงของประชาชนจำนวนมากไป เมื่อทรัพยากรเสื่อมโทรม กลับกล่าวโทษซ้ำเติมชาวประมงพื้นบ้านผู้ที่เสียเปรียบอยู่แล้ว เป็นด้านหลัก โดยพยายามชี้ว่า ชาวประมงพื้นบ้านมีจำนวนมากเกินไป จนทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากร ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทยเสื่อมโทรมจนวิกฤติในปัจจุบัน การพัฒนากิจการประมงไทยตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณปี ๒๔๘๘ และทิศทางการพัฒนาประเทศมุ่งเน้นเศรษฐกิจจากการส่งออก ทรัพยากรประมงไทย ถูกเร่งจับมากขึ้นและทรุดลงอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนากฎหมายประมงจาก พ.ร.บ. อากรค่าน้ำ ร.ศ. ๑๒๐ เป็น พ.ร.บ. การประมง ๒๔๙๐ ปี พ.ศ. ๒๔๙๒ เริ่มมีการส่งเสริมการทำประมงอวนลากหน้าดิน หลังจากปี ๒๕๐๓ การทำประมงขนาดใหญ่ของไทยด้วยอวนลากหน้าดินขยายตัวอย่างรวดเร็ว หลังปี ๒๕๐๓ เพียง ๕ ปีทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่าวไทยทรุดโทรมลงทันที เรือประมงขนาดใหญ่ออกจากฝั่งไกลขึ้น กองเรือประมงไทยทำการประมงพื้นที่ชายฝั่ง ๑๒ ไมล์ทะเลของประเทศเพื่อนบ้านด้วย และจากปริมาณการจับจำนวนนั้นประเทศไทยติดอันดับ ๑ ใน ๑๐ ของประเทศผู้ผลิตสินค้าประมงของโลก ด้วยเช่นกัน ก่อนปี ๒๕๐๓ ไทยจับสัตว์น้ำได้ปีละ ๑๕๐, ๐๐๐ ตัน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึง ๑.๕ ล้านตันในปี ๒๕๑๕ และปี ๒๕๒๐ มีการพัฒนาอวนล้อมจับปลาผิวน้ำปริมาณสัตว์น้ำ จับได้เพิ่มเป็น ๒ ล้านตัน และ ๒.๘ ล้านตันในปี ๒๕๓๘ จากนั้นเริ่มลดลงเหลือ ๒.๗ ล้านตันในปี ๒๕๔๑ พร้อมกับปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้น ทะเลไทยก็ได้เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ปี ๒๕๐๔ จากที่เคยจับสัตว์น้ำด้วยอวนลากในอ่าวไทยได้ชั่วโมงละ ๒๙๘ กิโลกรัม ลดลงเหลือเพียงชั่วโมงละ ๒๐ กิโลกรัมในปี ๒๕๓๒ จนในปี ๒๕๔๑ พบว่าบางครั้งสามารถจับสัตว์น้ำได้เพียง ๗ กิโลกรัมต่อชั่วโมงเท่านั้น นอกจากนี้ปลาที่จับได้เป็นปลาขนาดเล็กและลูกปลาเศรษฐกิจร้อยละ ๔๐ และล่าสุดปี ๒๕๔๖ พบว่าสามารถจับสัตว์น้ำได้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ๑๙.๒๒ กิโลกรัมต่อชั่วโมงอวนลาก และค่าต่ำสุดร้อยละ ๒.๓๘ กิโลกรัมต่อชั่วโมง เท่านั้น ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้เป็นกลุ่มปลาเศรษฐกิจได้ (ขนาด) ร้อยละ ๓๘.๕๐ และเป็นปลาเป็ดและลูกปลาเศรษฐกิจขนาดเล็กถึงร้อยละ ๖๑.๕๐ สรุป คือ ความเสื่อมโทรมของสัตว์น้ำทะเล จึง เกิดจากเครื่องมือประมงเกือบทุกประเภทที่จับสัตว์น้ำ ได้มาก ชนิด หลายขนาดกว่าที่ต้องการ ทำให้เกิดการประมงมวลชีวภาพ คือ การทำประมงโดยมุ่งกวาดเอาสัตว์ทะเลทุกชนิดในคราวเดียวกัน การประมงที่ยั่งยืน จึงต้องพิจารณากันที่กลวิธีในการจับ จับอย่างไร ใช้อย่างไรให้พอกับทุกคน และเหลืออยู่ให้เกิดก่อหน่อเนื้อใหม่ ดังนั้นการจัดการประมงที่สำคัญ คือการควบคุมการใช้เครื่องมือ เช่นควบคุมตาอวน, จำนวน, พื้นที่ที่ทำการประมง, ช่วงเวลา, ควบคุมสัตว์น้ำที่จับ เครื่องมือบางประเภทต้องควบคุมโดยเด็ดขาด แต่อีกหลายประเภทไม่ได้เป็นแบบทำลายโดยตัวมันเองโดยลำพัง แต่จะเปลี่ยนไปตามองค์ประกอบและวัตถุประสงค์ ๓.๒ ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านไร้สิทธิในที่อยู่อาศัย อาชีพจับปลาต้องอยู่กับทะเล การอาศัยอยู่ชายฝั่งทะเลจึงเป็นความสำคัญประการแรกของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน ในยุคก่อน ก่อร่างสร้างตัวด้วยความยากจน บ้านเรือนตั้งอยู่ใกล้ทะเล เพื่อสะดวกในการออกทำการประมง มีที่เก็บเรือ มีพื้นที่กว้างพอในการถอยเรือ สะดวกในเวลาน้ำขึ้นน้ำลง หลบลม หลบคลื่นได้ หรืออยู่ใกล้แนวคลอง เนื่องจากที่มีวิถีชีวิตที่สัมพันธ์กับระบบนิเวศน์ชายฝั่ง เกิดการอพยพโยกย้าย ตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยในบริเวณชายฝั่งมาเป็นเวลาช้านาน ทั้งที่มีเอกสารสิทธิ์แล้วและยังไม่มีเอกสารสิทธิ ก่อร่างสร้างตัวจากการออกหาสัตว์น้ำ กุ้งหอยปูปลา ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีลูกมีหลาน พากันสืบทอด กลายเป็นชุมชนสืบเนื่องมา เมื่อทุกอย่างพัฒนาขึ้น ผู้คนมากขึ้น กอร์ปกับกระแสการบุกรุกพื้นที่ชายฝั่งเพื่อการอุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง เช่น การเลี้ยงกุ้งกุลาดำ การบุกรุกยึดครอง ได้ทำให้เกิดความสับสนขึ้นในสังคมและภาครัฐ ว่าเป็นการบุกรุกเพื่อที่อยู่อาศัยของชุมชน จากความคิดความเชื่อที่สับสน และการประกาศนโยบายพื้นที่ชายฝั่ง เป็นเขตอนุรักษ์ พื้นที่ที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านจึงถูกละเลย พื้นที่ที่ไม่ได้รับการรับรองสิทธิมาก่อนถูกกดดันให้รื้อถอน และเริ่มมีมาตรการของรัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ห้ามอยู่ชายฝั่ง หรือต้องขออนุญาตก่อน ทำให้ การตั้งชุมชนอยู่ของชาวประมง ถูกตีค่าว่าบุกรุกที่สาธารณะ กลายเป็นเป้าหมายในการจัดระเบียบซึ่งอาจทำให้ชายหาดสวยงาม แต่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนของชาวประมงพื้นบ้าน ในกรณีชุมชนชาวมอแกน มอแกลน และอูรักลาโว๊ย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธ์ดั้งเดิม อาศัยพึ่งพิงทรัพยากรทางทะเลมาแต่บรรพบุรุษ บางกลุ่มมีสิทธิในที่อยู่อาศัยอยู่เดิมแต่จะพบปัญหาถูกยึดครองโดยผู้อื่น เพราะไม่เท่าทันกลโกงทำให้ถูกลวงเอาที่ดินไปในหลายกรณี บางกลุ่มไม่มีถือสิทธิเหนือที่ดินที่อยู่เดิม มักพบปัญหาว่าชุมชนเหล่านั้นตกเป็นจำเลยข้อหาเป็นผู้บุกรุก เป็นผู้ทำผิดกฎหมายเมื่อมีการประกาศพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติทับพื้นที่ ในส่วนการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดที่อยู่อาศัยให้ชุมชนเหล่านั้น มักพบปัญหาความไม่เข้าใจในวิถีชีวิตนำไปสู่การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งที่พวกเขาต่างเป็นพี่น้องมนุษยชาติเช่นเดียวกับเรา และสิทธิที่เขาควรได้รับก็เป็นของเขามาแต่เดิม... ๓.๓ อุทยานแห่งชาติทางทะเล ละเมิดสิทธิชุมชนท้องถิ่น หลังปี พ.ศ.๒๕๒๔ ได้มีการเร่งประกาศแนวเขตอุทยานในพื้นที่ทะเล ชายฝั่ง และเกาะ เกิดขึ้นในหลายท้องที่ จนยี่สิบปีต่อมาในปัจจุบัน มีอุทยานแห่งชาติทางทะเล ๒๑ แห่ง รวมเนื้อที่ประมาณ ๓,๕๘๖,๘๗๙ ไร่ และอยู่ในภาคใต้ ๑๗ แห่ง ฝั่งตะวันออก ๒ แห่ง และ ฝั่งตะวันตกอีก ๑๕ แห่ง หากนับตามปริมาณพื้นที่ นับเป็นนิมิตหมายที่ดีในการรักษาทรัพยากรให้ยั่งยืน แต่อุทยานแห่งชาติทางทะเลได้ประกาศแนวเขตครอบคลุมผืนน้ำเข้าไปด้วย เมื่อเป็นผืนน้ำซึ่งเป็นแห่งทำการประมงหาอยู่หากินมาแต่เดิม กลายเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ทำให้ที่อยู่อาศัยและที่ดินของชาวประมงพื้นบ้านที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิรับรองผิดกฎหมายอุทยาน การจับสัตว์น้ำในทะเลของชาวประมงพื้นบ้านเป็นสิ่งผิดกฎหมายในทันที รวมถึงวิถีการพักพิงเกาะเพื่อทำการประมง ทั้งที่เป็นกลุ่มชาวเลและชาวประมงเชื้อสายมาลายูก็กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมาย ในทางกลับกันกลับเกิดกรณีปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติให้แก่กลุ่มนายทุนโดยมิชอบ เกิดขึ้นจำนวนมาก เกิดกรณีการจับกุมชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดระนอง และจังหวัดพังงาซึ่งกำลังทำอวนลอยกุ้ง, กรณีชาวประมงพื้นบ้านเกาะลันตา ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯยิงปืนขับไล่ ขณะกำลังทำการประมง, และกรณีบุกเผาทับชาวประมงหรือที่พักของชาวประมงพื้นบ้านบนเกาะไม้ไผ่และเกาะพีพี เป็นต้น ภายใต้ปัญหาดังกล่าว หน่วยงานของรัฐบาลเองเริ่มตระหนัก เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น โดยทางกรมอุทยานแห่งชาติได้มีนโยบายในปี ๒๕๔๕ ให้มีการผ่อนผันให้ชาวประมงทำการประมงในเขตอุทยานได้ โดยต้องไม่กระทำผิด พ.ร.บ.การประมง ปี ๒๔๙๐ แต่ในระยะยาวจะต้องดำเนินการปรับปรุงแนวเขตอุทยานโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติและกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ ๔ ฉบับ ภายใต้ทางเลือกในการจัดการทรัพยากรใหม่ๆ ๓.๔ ปัญหาโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง ท่าเทียบเรือ การทำลายพื้นที่ชายฝั่ง การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง เช่น การก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึก การขุดลอกร่องน้ำเพื่อการเดินเรือขนาดใหญ่ในทะเล ท่าเทียบเรือเพื่อการท่องเที่ยว เขื่อนกั้นตลิ่งและกันคลื่น โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ มีผลกระทบโดยตรงในการทำลายทรัพยากร จากการขุดทำลาย ขนย้าย ตะกอนทับถม น้ำเสีย ฯลฯ เช่น การขุดลอกร่องน้ำที่ ต.เกาะศรีบอยา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่, ท่าเทียบเรือและแนวกันคลื่นที่ ต.เกาะยาวใหญ่ อ.เกาะยาว จ.พังงา, ท่าเทียบเรือน้ำลึก จ.สงขลา, ท่าเทียบเรือ อ.จะนะ จ.สงขลา, ท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา อ.ละงู จ.สตูล, ท่าเทียบเรือน้ำลึกและการขุดลอกร่องน้ำที่เกาะลันตา จ.กระบี่ แม้ว่าการเกิดขึ้นของแต่ละโครงการจะอ้างเหตุผลเพื่อการพัฒนา แต่ปัจจุบันกลับมีโครงการลักษณะดังกล่าวมากขึ้นและกระจายอยู่ทั่วไปในภาคใต้ และมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีผลในการทำลายทรัพยากรชายฝั่ง และชุมชนท้องถิ่น โดยที่ทุกโครงการชุมชนท้องถิ่นไม่มีโอกาสในการมีส่วนร่วมให้ความคิดเห็นและตัดสินใจ
(๔) สรุปสภาพปัญหา และหนทางชาวประมงพื้นบ้าน ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลนี่เอง ทำให้ชาวประมงพื้นบ้านซึ่งมีวิถีชีวิต พึงพิง หาอยู่หากินกับทรัพยากร ต้องยากจนแร้นแค้นลงเรื่อยๆ ปัจจุบันค่าครองชีพ ค่าอุปกรณ์และน้ำมันเครื่องยนต์ที่ถีบตัวสูงขึ้น ยิ่งทำให้เส้นทางของชาวประมงพื้นบ้านตีบตันลงทุกที การจับสัตว์น้ำให้ได้มากที่สุดเท่าที่กำลังการจับของเครื่องมือชนิดต่างๆสามารถที่จับได้ เพื่อเป็นสินค้าส่งออกอาจตอบสนองการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและรายได้ประชาชาติของประเทศก็จริง แต่ไม่สามารถตอบสนองความเท่าเทียม ความปลอดภัยของผู้บริโภค และไม่สามารถเป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของสังคมเราเองในอนาคต ประกอบกับกระแสสังคมบริโภคทุนนิยมเสรีที่รุนแรงในปัจจุบัน ทำให้ เยาวชน คนหนุ่มสาวในหมู่บ้านชาวประมงจำนวนมาก ละทิ้งอาชีพดั้งเดิมไปใช้ชีวิตในเมืองเป็นแรงงานในโรงงาน เพื่อรับค่าตอบแทนรายเดือน ทั้งที่เงินเดือนแทบไม่พอใช้ เพราะระบบคิดที่สังคมเชื่อว่าถ้าเป็นชาวประมงในทะเล คือความลำบาก ล้าหลัง ยากจน การเป็นแรงงานอยู่ในเมือง คือผู้เจริญ สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้เห็นว่าถ้าทรัพยากรถูกจัดการอย่างเป็นธรรม ไม่มีเครื่องมือทำลาย ผู้คนที่การทำประมงแบบพื้นบ้านก็จะไม่ยากจนอย่างที่เข้าใจ กลับสามารถใช้ชีวิตอย่างมั่นคงและมีศักดิ์ศรีและเป็นผู้เจริญได้ คำกล่าวของ ชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้ชื่อว่า ชาวประมงพื้นบ้านยากจนที่สุดในประเทศไทยว่า "เราไม่มีเงินเดือนจากรัฐเหมือนข้าราชการ ไม่ได้รับเงินจากนายจ้างเหมือนลูกจ้าง แต่เราได้รับเงินเดือนจากทะเล เมื่อทะเลเสื่อมโทรม เราก็ไม่ได้เงินเดือน ไม่มีรายได้... ทะเลก็เหมือนหม้อข้าวเรา เราไม่รักษาหม้อข้าวตัวเอง แล้วใครจะช่วยรักษา" เสียงเรียกร้องจากชาวประมงพื้นบ้านได้ก่อให้เกิดกระแสการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง ชาวประมงพื้นบ้านจำนวนมากพร้อมใจกันเลิกทำประมงด้วยเครื่องมือทำลายทรัพยากร หันมามุ่งมั่นรักษาทะเล ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง ปกป้องทะเลจากการทำลายจากคนภายนอกชุมชน เกิดกิจกรรมวางซั้ง วางปะการังเทียมเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรเกิดขึ้นในชุมชนชาวประมงพื้นบ้านมากว่ายี่สิบปี บ้างก็คิดวิธีเก็บหอมรอมริบจนกลายเป็นกลุ่มออมทรัพย์ หวังปลดหนี้สินในอนาคต หลายชุมชนรักษาป่าชายเลนในรูปแบบป่าชุมชน ปรากฏการณ์วิกฤติทางทะเลได้บ่งชี้ให้เห็นว่า ปัญหาวิกฤติของทรัพยากรทะเลไทย ไม่ใช่เรื่องของชาวประมงเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่คนในสังคมไทยต้องหันมาสนใจ ห่วงใย และเอาใจใส่ในการแก้ปัญหากันอย่างจริงจัง... และชาวประมงพื้นบ้านเองก็ไม่งอมืองอเท้ารอการช่วยเหลือ แต่กลับมุ่งมั่นแก้ปัญหาตนเอง นับเป็น ฝันอันยิ่งใหญ่ของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนชายฝั่ง ที่รอการสนับสนุน ส่งเสริมจากเราๆ ท่านๆ...ในอนาคต... (๕) ข้อเสนอ สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ได้เคยเสนอไว้ว่า ควรมีโยบายที่เป็นรูปธรรม และมีมาตรการที่จะนำไปสู่การกู้ และฟื้นฟูทะเล อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาของชาวประมงและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทะเล ทั้งระบบดังนี้
๑. ยกเลิกเครื่องมือการประมงที่ทำลายล้างทุกชนิดโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะ อวนรุน อวนลากเรือปั่นไฟปลากะตัก โดยต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด จริงจัง มีบุคลากร งบประมาณที่เพียงพอการแก้ไขปัญหา ๒. ปรับปรุงเป้าหมายการใช้ทะเลจากเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เป็นเพื่อฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ของทะเล และฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพ โดยตระหนักถึงความเกี่ยวพันของระบบนิเวศน์ทะเลซึ่งต่างจากเส้นแบ่งตามเขตการปกครอง ๓. ฟื้นฟูป่าชายเลนโดยให้ชุมชนมีส่วนในการจัดการดูแลรักษา ในรูปแบบป่าชายเลนชุมชน สนับสนุนการออกพระราชบัญญัติป่าชุมชน ตามเนื้อหาและเจตนารมณ์ของประชาชน ปรับปรุงพื้นที่ประกอบอาชีพของชาวประมงพื้นบ้าน โดยการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรริมฝั่งทะเลและแหล่งอาศัยและเพาะพันธ์สัตว์น้ำ เช่น การวางปะการังเทียม วางทุ่นแนวเขตอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล รวมทั้งให้องค์กรและชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง และทรัพยากรประมง ๔. ปฏิรูประบบการทำงานของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับทะเล โดยเปลี่ยนบทบาทหน่วยงานราชการจากผู้กำหนดนโยบายและกุมอำนาจในการบริหารจัดการ ไปเป็นผู้สนับสนุนให้ภาคประชาชนเป็นองค์กรในการดูแลรักษาทะเล และมีอำนาจการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างรัฐและประชาชน ทั้งนี้หน่วยงานราชการต้องมีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน ขจัดการทำงานที่ซ้ำซ้อน มีการประสานงาน ๕. ปฏิรูปพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ โดยจัดให้มีกระบวนการยกร่างกฎหมายประมงใหม่ที่ประชาชนมีส่วนร่วม กระจายอำนาจการบริหารจัดการทรัพยากร การเคารพสิทธิของชุมชนท้องถิ่น การเสริมสร้างให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและมาตรการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทะเลและวิถีชีวิตของท้องถิ่น ๖. ดำเนินการปฏิรูปกฎหมายการป่าไม้ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ๔ ฉบับ คือ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ ๒๕๐๔ พ.ร.บ.ป่าไม้ ๒๔๘๒ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ๒๕๐๗ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ๒๕๓๕ ๗. ทบทวน และวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาภาคใต้ใหม่ทั้งระบบ โดยจัดการอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

ชาวประมง

สถานที่สำคัญของสมุทรสงคราม

สถานที่สำคัญ-แหล่งท่องเที่ยว
ดอนหอยหลอด สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย มีหอยอาศัยอยู่หลายชนิด ได้แก่ หอยหลอด หอยลาย หอยปุก หอยปากเป็ด หอยแครง แต่พบว่าหอยหลอดเป็นหอยที่มีจำนวนมากที่สุดวัดเขายี่สาร ตั้งอยู่ที่บ้านเขายี่สาร เป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สิ่งที่น่าสนใจได้แก่ พระวิหาร บนยอดเขามีลักษณะเป็นรูปเรือ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทสี่รอยซึ่งเป็นองค์ประธานของวัด พระมณฑปและบานประตูสลักไม้ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลายนับเป็นงานประณีตศิลป์ชั้นสูง พระอุโบสถบูรณะใหม่ประดิษฐ์ลวดลายปูนปั้นด้วยฝีมือช่างเมืองเพชร ภายในมีภาพจิตรกรรมฝีมือเดิม บานหน้าต่างเป็นรูปบุคคลในพงศาวดารจีน ถ้ำพระนอนประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ซึ่งมีนิ้วพระบาทเก้านิ้ว พิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเขายี่สาร โดยใช้อาคารศาลาการเปรียญของวัดเป็นพิพิธภัณฑ์ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2539 ด้วยความร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชนยี่สารที่มีความสำนึกในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น ชุมชนยี่สารเป็นชุมชนโบราณร่วมสมัยกับการเกิดกรุงศรีอยุธยา มีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง เรื่องราวเหล่านี้เป็นจนข้อมูลสำคัญที่น่าศึกษา หาค้นคว้าได้จากพิพิธภัณฑ์บ้านเขายี่สาร อาคารชั้นล่างจัดแสดงภูมิปัญญาบ้านเขายี่สาร ชีวิตวัฒนธรรมของผู้คน เครื่องมือผลิตยาสมุนไพร เครื่องใช้ไม้สอยของชาวบ้านในชุมชน ชั้นบนจัดแสดงภาชนะ เครื่องมือเครื่องใช้ของชาวชุมชนเขายี่สาร วัดบ้านแหลม หรือ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร ตั้งอยู่ในตัวอำเภอเมือง เป็นวัดที่สำคัญของจังหวัด ตามพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา ปี พ.ศ. 2307 พม่ายกทัพเข้ามาตีเมืองเพชรบุรี แต่กองทัพของกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาช่วยรักษาเมืองไว้ได้ ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณตำบลแม่กลองเหนือวัดศรีจำปา จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านแหลม” ตามชื่อบ้านเดิมของตนในเมืองเพชรและช่วยกันบูรณะวัดศรีจำปา เรียกวัดนี้ใหม่ว่า “วัดบ้านแหลม” วัดศรัทธาธรรมหรือวัดมอญ ตั้งอยู่ตำบลบางจะเกร็ง เป็นวัดที่มีพระอุโบสถเป็นจุดเด่นสร้างโดยพระครูสมุทรวิสุทธิวงศ์ (อดีตเจ้าอาวาส) เมื่อ พ.ศ. 2535 พระอุโบสถทำด้วยไม้สักทองผนังฝังมุกทั้งด้านในและด้านนอก ลวดลายมีความละเอียดงดงามมาก แสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและรามเกียรติ์ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อบ้านแหลม หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด หลวงพ่อพุทธโสธร เป็นที่สักการะของชาวสมุทรสงครามและจังหวัดใกล้เคียง อนุสรณ์สถานแฝดสยามอิน-จันและพิพิธภัณฑ์เรือ ตั้งอยู่ตำบลลาดใหญ่ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแด่ฝาแฝดสยามอิน-จันที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไปทั่วโลก ภายในบริเวณเป็นลานกว้างประดับด้วยต้นไม้ดอกไม้ อนุสรณ์แฝดสยามอิน-จัน ตั้งอยู่กลางลานด้านหน้ามีสระน้ำขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีอาคารโถงจัดแสดงชีวประวัติของแฝดสยามอิน-จัน "แฝดสยามอิน-จัน" เกิดที่จังหวัดสมุทรสงครามเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 (ค.ศ. 1811) ประมาณปี พ.ศ. 2371-2372 (ค.ศ. 1828-1829) กัปตันคอฟฟินและฮันเตอร์เดินทางมาติดต่อการค้าที่แม่กลอง พบฝาแฝดคู่นี้จึงขอนำกลับไปอเมริกาและอังกฤษ เพื่อเปิดการแสดงในที่ต่างๆ เรื่องราวชีวิตของแฝดสยามอิน-จัน ฝาแฝดที่มีร่างกายท่อนบนติดกันและสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างปกติยาวนานจนถึงอายุ 63 ปี ได้รับการกล่าวขานทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในชื่อ “Siamese Twin” ตลาดน้ำท่าคา ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าคา เป็นตลาดนัดทางน้ำที่ยังคงความเป็นธรรมชาติของวิถีชีวิตชาวบ้านซึ่งมีอาชีพทำสวนปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ชาวบ้านจะพายเรือนำผลผลิต พืชผักและผลไม้จากสวน เช่น พริก หอม กระเทียม น้ำตาลมะพร้าว ฝรั่ง มะพร้าว ชมพู่ ส้มโอมาขาย-แลกเปลี่ยนกัน ตลาดน้ำอัมพวา อยู่ที่บริเวณตลาดอัมพวา จัดให้มีขึ้นในช่วงเย็นของทุกวัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีเรือแจวของชาวบ้านนำผลิตผลเกษตรจากสวนเช่นผัก ผลไม้ ดอกไม้มาขาย และยังมีอาหารจำพวกก๋วยเตี๋ยว ขนมหวาน กาแฟโบราณ นอกจากจะเพลิดเพลินกับการซื้อของกับแม่ค้าที่พายเรือมาขายแล้ว บนฝั่งเป็นตลาดอัมพวาซึ่งมีร้านค้าแผงลอยจำหน่ายอาหารมากมายบ้านดนตรี ตั้งอยู่ในบริเวณวัดภุมรินทร์กุฎีทอง โดยใช้อาคารโรงเรียนเป็นที่ทำการสอนดนตรีไทย ด้วยสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสงคราม เล็งเห็นคุณค่าวัฒนธรรมของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรอนุรักษ์สืบทอดให้ลูกหลานชาวสมุทรสงครามได้ภาคภูมิใจ จึงได้รวบรวมนักดนตรีไทยรุ่นเก่าๆ ที่สมัครใจ ให้อบรมสั่งสอนเด็กรุ่นใหม่เพื่อสืบทอดความเป็นเมืองแห่งดนตรีไทยไว้สืบชั่วลูกหลานบ้านแมวไทยโบราณ เป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์แมวไทยโบราณ ตั้งอยู่ตำบลแควอ้อม บ้านแมวไทยโบราณเกิดจากการรวมตัวของเพื่อนที่นิยมเลี้ยงแมวไทย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์แมวไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทยเป็นสมบัติของชาติตลอดไปและเพื่อเผยแพร่ความรู้เรื่องคุณสมบัติและลักษณะที่ถูกต้องของแมว สนับสนุนด้านการค้นคว้าวิจัย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ระหว่างสมาชิก แลกเปลี่ยนเรื่องและประสบการณ์การวิจัย การผสมพันธุ์กับองค์กรการเลี้ยงแมวที่เกี่ยวข้อง คุณปรีชา พุคคะบุตร ผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นผู้ดูแลบ้านแมวไทยโบราณเล่าให้ฟังว่า “เดิมคุณแม่เป็นผู้เลี้ยงแมวไทยสายพันธุ์วิเชียรมาศ สมัยนั้นผมยังเด็กไม่ค่อยได้สนใจ พอโตขึ้น ถูกใช้ให้คลุกข้าวเลี้ยงแมว ช่วงนั้นมีแมวอยู่ในบ้านไม่มากนัก เลี้ยงมาเรื่อยๆ แมววิเชียรมาศไม่เคยขาดบ้าน มีความผูกพันกับแมวมาตลอด ต่อมามีเพื่อนฝูงที่นิยมเลี้ยงแมวมากขึ้น ไปมาหาสู่พูดคุยกันว่าน่าจะอนุรักษ์ไว้ เพราะแมวไทยเป็นแมวที่ฉลาด ช่างประจบ รักบ้าน รักเจ้าของและสวยสง่า มองดูสะดุดตา” แมวไทยมีหลายพันธุ์ทั้งพันธุ์สีสวาท ศุภลักษณ์ โกญจา ภายในบ้านแมวไทยมีเรือนเพาะเลี้ยงแมวไทย แบ่งเป็นกรงเลี้ยงแมวไทยประเภทต่าง ๆ บ้านแมวไทยโบราณ เป็นสถานที่น่าสนใจเหมาะแก่การศึกษาหาความรู้เรื่องแมวไทยพันธุ์แท้ๆ วัดจุฬามณี ตั้งอยู่ตำบลบางช้าง เป็นวัดโบราณริมฝั่งคลองอัมพวาต่อเนื่องกับคลองผีหลอก วัดนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่า ท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นวงศ์ราชินิกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้น บริเวณหลังวัดเดิมเป็นนิวาสสถานของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และคุณบุญรอด (สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2) วัดบางกะพ้อม เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สิ่งที่น่าสนใจอยู่ภายในวิหารเก่าของวัด ผนังวิหารด้านบนเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังลักษณะแตกต่างจากทั่วไป คือ เป็นปูนปั้นลวดลายนูนแสดงเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ ผนังวิหารด้านล่างโดยรอบมีช่องเจาะเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป นอกจากนี้กลางวิหารยังประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองขนาดใหญ่ซ้อนกันสี่รอยลดหลั่นกันไป สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรี เดิมมีแผ่นเงินหุ้มแต่ถูกขโมยไปเมื่อครั้งสงคราม พระพุทธบาทรอยที่ซ้อนลึกที่สุดนั้นเป็นไม้ประดับมุกยังคงหลงเหลือลวดลายงดงามวัดบางแคน้อย ตั้งอยู่ที่ตำบลแควอ้อม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2411 เดิมอุโบสถของวัดสร้างบนแพไม้ไผ่ผูกไว้กับต้นโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ปัจจุบันวัดนี้ได้รับการบูรณะอย่างดี สิ่งที่น่าชมภายในวัด ได้แก่ ผนังภายในพระอุโบสถทำจากไม้สักแกะสลักเป็นเรื่องราวในพุทธประวัติ การประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน และเรื่องพระเจ้าสิบชาติ ลวดลายสวยงามชัดเจนโดยฝีมือช่างแกะสลักจังหวัดเพชรบุรีซึ่งมีชื่อเสียงด้านการแกะสลักไม้ นับเป็นอุโบสถที่มีความงดงามในศิลปะการแกะสลักไม้ วัดบางแคใหญ่ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตำบลแควอ้อม สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2357 ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจ ได้แก่ พระอุโบสถหลังใหญ่อายุกว่า 150 ปี ด้านหน้ามีเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสิบสองศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา พระประธานในอุโบสถปางมารวิชัยปั้นด้วยศิลาแลง มีธรรมเจดีย์ 7 องค์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2415 มีกำแพงแก้วล้อมรอบ และบนฝาประจัน (ฝากั้นห้อง) กุฏิสงฆ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว เขียนในปลายสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นเรื่องราวการทำสงครามไทย-พม่า ซึ่งน่าจะเป็นครั้งที่ ร.2 โปรดให้ไปขัดตาทัพที่ราชบุรีเมื่อปี พ.ศ. 2364 วัดประดู่ ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดประดู่ อำเภออัมพวา เป็นวัดเก่าแก่ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลที่ 5 เคยเสด็จประพาสต้นทางชลมารคมาที่วัดนี้สมัยที่หลวงปู่แจ้งเป็นเจ้าอาวาส ทรงมีพระราชศรัทธา และได้ถวายสิ่งของให้แก่หลวงปู่มากมาย เช่น เรือเก๋งพระนที่นั่ง พระแท่นบรรทม ตาลปัตร ปิ่นโต สลกบาตร ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันทางวัดได้โดยจัดสร้าง พิพิธภัณฑ์พระราฃศรัทธา เก็บรักษาไว้อย่างดี นอกจากนี้ในพิพิธภํณฑ์ยังจัดแสดง "หุ่นดินสอพอง" รูปพระเกจิอาจารย์ในจังหวัดสมุทรสงคราม และรูปรัชกาลที่ 5 แกะสลักจากไม้หอมวัดภุมรินทร์กุฎีทอง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ตำบลสวนหลวง สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดมีมากมาย ได้แก่ กุฎีทอง ทำด้วยไม้สัก ประวัติเล่าว่า เศรษฐีบิดาของคุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) ให้สมภารวัดบางลี่ตรวจดูดวงชะตาคุณนาค สมภารทำนายว่าจะได้เป็นพระราชินี เศรษฐีบิดาคุณนาคจึงให้คำมั่นว่า ถ้าเป็นจริงจะสร้างกุฎีทองถวายให้วัด วัดบางลี่จึงได้ชื่อว่า วัดบางลี่กุฎีทอง ต่อมาวัดบางลี่ถูกน้ำเซาะที่ดินพังลง จึงรื้อกุฎีทองมาสร้างไว้ที่วัดภุมรินทร์ วัดนี้จึงได้ชื่อว่าวัดภุมรินทร์กุฎีทอง นอกจากนี้ ยังมี พิพิธภัณฑ์วัดภุมรินทร์และอุทยานการศึกษา เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุล้ำค่าสมควรแก่การศึกษาและอนุรักษ์ ไว้ เช่น พระพุทธรูป หนังสือไทย โถลายคราม และเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูปเก่าแก่อายุกว่า 300 ปี เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัยชื่อ พระพุทธรัตนมงคลหรือหลวงพ่อโต และ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐานวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และ คุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมเป็นเรือนที่คุณนาคใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยวัดอินทาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลเหมืองใหม่ เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อ พ.ศ. 2300 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มาปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระพุทธรูปหลวงพ่อโตอายุกว่า 300 ปี พระอุโบสถสร้างด้วยหินอ่อนทั้งหลัง บานหน้าต่างและบานประตูเป็นไม้สักแกะสลักสุภาษิตสอนใจ หมู่บ้านเรือนไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลปลายโพงพาง อำเภออัมพวา กิจกรรมตักบาตรตอนเช้า ไหว้พระวัดต่าง ๆ เที่ยวชมวิถีชีวิตไทยในคลอง เตาตาล บ้านทรงไทย อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ของ มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามไว้เป็นมรดกแก่ชาติ จนได้รับยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) บริเวณที่ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์นี้ พระราชสมุทรเมธี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยารามเป็นผู้น้อมเกล้าฯถวาย มีพื้นที่ประมาณ 11 ไร่ พื้นที่บริเวณนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นสถานที่พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2ค่ายบางกุ้ง ตั้งอยู่ตำบลบางกุ้ง ค่ายแห่งนี้เป็นค่ายทหารเรือไทยที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ หลังจากเหตุการณ์เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้โปรดให้ยกกองทัพเรือมาตั้งค่ายที่ตำบลบางกุ้ง เรียกว่า ค่ายบางกุ้ง เนื่องจากเมืองแม่กลองเป็นเส้นทางที่กองทัพพม่าใช้ในการเดินทัพ โดยสร้างกำแพงล้อมวัดบางกุ้งให้อยู่กลางค่ายเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นที่เคารพบูชาของทหาร พระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้คนจีนจากระยอง ชลบุรี ราชบุรีและกาญจนบุรีรวบรวมผู้คนมาตั้งเป็นกองทหารรักษาค่าย ค่ายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนี่งว่า "ค่ายจีนบางกุ้ง" พระองค์ทรงให้ชื่อทหารเหล่านี้ว่า “ทหารภักดีอาสา” ในปี พ.ศ. 2311 พระเจ้ากรุงอังวะทรงยกทัพผ่านกาญจนบุรี มาล้อมค่ายจีนบางกุ้ง พระเจ้าตากสินมหาราชและพระมหามนตรี (บุญมา) ร่วมรบขับไล่กองทัพพม่าทำให้ข้าศึกแตกพ่าย นับเป็นค่ายทหารไทยที่สร้างความเกรงขามให้กองทัพพม่า สร้างขวัญกำลังใจให้คนไทยกลับคืนมา และเป็นสงครามครั้งแรกที่ไทยทำกับพม่าหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ค่ายบางกุ้งแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างเกือบ 200 ปี จนมาถึงปี พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ตั้งเป็นค่ายลูกเสือขึ้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระเจ้าตากสินมหาราช และได้สร้างศาลพระเจ้าตากสินไว้เป็นอนุสรณ์ โดยทำพิธียกศาลเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2511วัดเจริญสุขารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลบางนกแขวก สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถที่มีศิลปะการก่อสร้างเฉพาะตัว เพดานโบสถ์เป็นรูปโค้งคล้ายประทุนเรือ ภายในประดิษฐานหลวงพ่อโตลักษณะเป็นพระปฏิมากรสมัยสุโขทัยสร้างด้วยศิลาแลงวัดบางกุ้ง อยู่ในเขตพื้นที่เดียวกับค่ายบางกุ้ง แต่อยู่คนละฝั่งกัน มีความมหัสจรรย์อยู่ที่โบสถ์ของวัดจะถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ ทำให้วัดบางกุ้งแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน Unseen Thailand โดยภายในวัดมีโบสถ์เก่าประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อโบสถ์น้อย และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ เป็นภาพพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมและภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในซุ้มขนาบข้างด้วยอัครสาวกนั่งพนมมืออาสนวิหารแม่พระบังเกิด ตั้งอยู่ตำบลบางนกแขวก โบสถ์นี้เป็นสถานที่สักการะอันศักดิ์สิทธิ์ของคริสตชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) โดยบาทหลวงเปาโลซัลมอน มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ได้รับทุนสนับสนุนจากญาติพี่น้องของท่านในประเทศฝรั่งเศส คณะมิซซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส กรุงโรมและผู้ใจบุญในกรุงเทพฯ ใช้เวลาสร้างถึง 6 ปีจึงเสร็จสมบูรณ์ ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิคของประเทศฝรั่งเศส ฉาบด้วยปูนตำ ภายในประดับด้วยภาพกระจกสีสวยงดงาม มีรูปปั้น ธรรมาสน์เทศน์ อ่างล้างบาป ขาเทียนลักษณะต่างๆ และรูปแกะสลักบรรยายเกร็ดประวัติในพระคัมภีร์คริสตศาสนา นับเป็นโบสถ์ที่มีความสวยงามไม่ไกลจากริมฝั่งแม่น้ำ
ภาคใต้ ภาคตะวันออกภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง กรุงเทพฯ กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ประจวบฯ ปทุมธานี เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี